5 ข้อเทียบ ฝีดาษวานรกับโควิด-19
บทความสุขภาพ
01 มิ.ย. 2565
ครั้ง
5 ข้อเทียบ ฝีดาษวานรกับโควิด-19
“ฝีดาษวานร” ที่ทั่วโลกกำลังหวั่นวิตกว่าจะเกิดการระบาด กับ “โควิด-19” ที่เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกมากว่า 2 ปี หากเทียบใน 5 ข้อจะเป็นอย่างไร ทั้งตัวเชื้อ การติดต่อ อัตราการป่วยเสียชีวิต วัคซีนและสถานการณ์การระบาด
“ฝีดาษวานร” ที่ทั่วโลกกำลังหวั่นวิตกว่าจะเกิดการระบาด กับ “โควิด-19” ที่เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกมากว่า 2 ปี หากเทียบใน 5 ข้อจะเป็นอย่างไร ทั้งตัวเชื้อ การติดต่อ อัตราการป่วยเสียชีวิต วัคซีนและสถานการณ์การระบาด
- ตัวเชื้อ
- ฝีดาษวานร : กรมควบคุมโรคระบุว่าไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Orthopox พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้
- โควิด-19 : เป็นเชื้อที่พบและรายงานเมื่อปี 2563 โดยในช่วงปลายปี 2562 มีการรายงานพบผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก่อนที่จะมีการถอดรหัสพันธุกรรมแล้วระบุว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และมีการตั้งชื่อต่อมาว่า “โรคโควิด-19”
- การติดต่อ
- ฝีดาษวานร : สามารถติดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย
- โควิด-19 : เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย
- อัตราป่วยเสียชีวิต
- ฝีดาษวานร : อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10%
- โควิด-19 : มีการระบาดทั่วโลกมากว่า 2 ปี ปัจจุบัน อัตราป่วยเสียชีวิตทั่วโลก อยู่ที่ 1.20%
- วัคซีน
- ฝีดาษวานร : การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ 85% แต่ว่าเด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษวานรมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ
- โควิด-19 : ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันโรคมาก่อน เพิ่งมีการเริ่มวิจัยพัฒนาในปี 2563 และเริ่มนำมาใช้ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด
- สถานการณ์ระบาด
- ฝีดาษวานร : ปัจจุบันจัดฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่ออันตรายเช่นเดียวกับโรคโควิด-19 ซึ่งยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย
- โควิด-19 : มีการระบาดครั้งแรก โดยระบาดไปทั่วโลกในปี 2563 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และเริ่มมีแนวโน้มที่สามารถควบคุมการระบาดได้ในปลายปี 2565
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา