5 สัญญาณอันตราย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

แม่และเด็ก

19 ส.ค. 2567
ครั้ง

5 สัญญาณอันตราย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

      การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จะครบกำหนดที่ 38-41 สัปดาห์ หรือประมาณ 9 เดือน โดยเฉลี่ยหากคลอดก่อน 37 สัปดาห์ทางการแพทย์ ถือว่า คลอดก่อนกำหนด แต่ทารกที่คลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะไม่พบปัญหาหรือความผิดปกติใด ๆ แต่ทารกที่จะพบปัญหา คือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ภาวะคลอดก่อนกำหนดถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของคุณแม่ตั้งครรภ์ ถือเป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงท้องทุกคน 

  • มีอาการปวดท้องต่อเนื่องกัน หรืออาจจะเป็นระยะๆ เนื่องจากการหดตัวของมดลูก
  • มีอาการปวดหลังจนถึงช่วงล่าง โดยจะรู้สึกปวดร้าวไปถึงด้านล่างบริเวณก้นกบ ร่วมกับการปวดท้อง
  • รู้สึกลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำไหลออกจากช่องคลอด หรือมีระดูขาวออกมา บางครั้งอาจจะมีมูกปนเลือดออกมาด้วย

การลดความเสี่ยงจากภาวะคลอดก่อนกำหนด

  • ไม่อั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ และยังสร้างความระคายเคืองให้มดลูก ทำให้มดลูกบีบตัว และอาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
  • รักษาโรคช่องคลอดอักเสบ หากคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคช่องคลอดอักเสบ ควรรีบเข้ารับการรักษา เพื่องจากมีผลวิจัยระบุว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคช่องคลอดอักเสบ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สามารถลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้
  • รักษาสุขภาพเหงือก เนื่องจากโรคเหงือกเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่อาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นควรแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน ไปพบหมอฟังอย่างน้อย 1 ครั้งระหว่างตั้งครรภ์
  • ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ และรักษาความชุ่มชื่นของร่างกาย เพราะหากร่างกายขาดน้ำอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ทานวิตามินสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ความเสี่ยงที่จะเกิดกับแม่และทารกในครรภ์ หากเป็นการคลอดก่อนกำหนด

  • ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับทารก ทารกที่คลอดก่อนกำหนดร่างกายมักจะยังเจริญเติบโตไม่ครบสมบูรณ์ โดยเฉพาะปอดและระบบทางเดินทางใจที่ยังไม่โตเต็มที่ หลังคลอดทารกจึงต้องอาศัยอยู่ในปรับอุณหภูมิ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คลอดก่อนกำหนด เพื่อช่วยให้ทารกสามารถหายใจได้ และต้องอาศัยอยู่ในตู้ปรับอุณหภูมิ จนกว่าจะสามารถปรับตัวในอุณหภูมิห้องและหายใจในอากาศปกติได้
  • ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ โดยปกติแล้วมักจะไม่มีอันตรายร้ายแรงหากไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่คุณแม่มักจะมีน้ำนมช้า หรือมีน้ำนมน้อย เนื่องจากร่างกายยังไม่พร้อม หลังคลอดให้ดูแลตัวเองเหมือนคนคลอดตามปกติ

      อาการต่างๆ ที่กล่าวมานี้สามารถเกิดได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่ที่ครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนให้เราไม่นิ่งนอนใจจนเกินไป ซึ่งอย่างไรก็ดีถ้าเราต้องการที่จะลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด เราควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ เพื่อความมั่นใจ และคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

TH.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png