6 เคล็ดลับ ! แก้ปวดประจำเดือน
บทความสุขภาพ
27 มี.ค. 2567
ครั้ง
6 เคล็ดลับ ! แก้ปวดประจำเดือน
ปัญหาโลกแตกที่ผู้หญิงแทบทุกคนต้องเคยพบเจอคือ ปวดท้องประจำเดือน กี่ครั้งกี่หนที่ต้องทนกับอาการปวดจนตัวขดตัวงอทุกเดือน หลายคนปวดจนนอนไม่ได้ หรือบางครั้งปวดมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องลางานกันเลยทีเดียว
- ประคบอุ่นบริเวณท้องน้อย วิธีนี้เป็นวิธีแก้อาการปวดท้องประจำเดือนที่ง่ายและได้ผลดี เพียงแค่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อย หรือบริเวณที่ปวด ความร้อนมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่ค่อย ๆ ผ่อนคลาย ทำให้อาการปวดประจำเดือนทุเลาลง
- จิบเครื่องดื่มอุ่น ๆ นอกจากการสัมผัสความร้อนจากภายนอก การปรับให้ภายในร่างกายอุ่นขึ้นด้วยการจิบเครื่องดื่มอุ่นๆ ระหว่างวันก็ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนลงได้ แต่ไม่ควรดื่มเป็นชาหรือกาแฟเพราะเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีนจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ส่งผลให้อาการปวดประจำเดือนเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้
- เน้นกินอาหารกลุ่มที่มีแมกนีเซียม แค่เลือกกินให้ถูกก็ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ โดยไม่ต้องพึ่งยาเลยทีเดียว ซึ่งอาหารที่เหมาะสำหรับช่วงมีประจำเดือน คือกลุ่มที่มีแมกนีเซียม เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อช่วยลดของเสียในร่างกายและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้เทียบเท่ากับการกินยาแก้ปวด เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มสารเอ็นโดรฟิน ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนลงได้
- การทำสมาธิ หรือโยคะ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เพราะการทำสมาธิจะช่วยลดความเครียด ส่วนการเล่นโยคะเป็นการทำให้กล้ามเนื้อท้องและหลังยืดหยุ่น จึงช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือนได้ดีขึ้น
- นวดบริเวณท้องน้อยเบา ๆ หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนขณะนั่งทำงาน ก็สามารถบรรเทาด้วยการนวดบริเวณท้องน้อยเบา ๆ โดยนวดวนเป็นวงกลม เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องผ่อนคลายลง อาการปวดประจำเดือนจากการตึงของกล้ามเนื้อก็จะลดลงตามไปด้วย
- ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือน (ยังไม่มี หรือหมดแล้ว) แต่มีเลือดออกทางช่องคลอด เช่น ในเด็ก หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีประจำเดือนปกติ แต่มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือนด้วย หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
- มีประจำเดือนในปริมาณที่มากขึ้น หรือมีระยะเวลาของประจำเดือนนานขึ้น สังเกตได้จากการที่ใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 4 แผ่นชุ่มๆ ต่อวัน หรือมีประจำเดือนในแต่ละรอบมากกว่า 7 วัน ซึ่งทำให้มีอาการเหนื่อย เพลีย หลังมีประจำเดือนจากภาวะโลหิตจางได้
หากดูแลและบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนในเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเรากำลังเผชิญกับอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ภายในอยู่ก็ได้
ดังนั้นหากมีอาการปวดที่มากกว่าปกติและมีอาการอื่น ๆ ดังที่กล่าวไว้ ควรรีบพบแพทย์และตรวจคัดกรองเพื่อรักษาอาการได้อย่างทันท่วงที
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา