ภาวะต่อมหมวกไตล้า
บทความสุขภาพ
ภาวะต่อมหมวกไตล้า
หลายครั้งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเราใช้ชีวิตเร่งรีบจนเป็นความเคยชิน ทำให้บ่อยครั้งร่างกายส่งสัญญาณอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย ระบบภายในร่างกายต่าง ๆ เริ่มแปรปรวน จากการเสพติดความเครียดแบบเรื้อรั้ง คนส่วนมากที่มีภาวะนี้ในระยะแรก มักจะยังไม่รู้ตัวเนื่องจากร่างกายมีความทนทานสูงต่อความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวัน มารู้ตัวอีกทีก็เกิดอาการฉับพลันที่นำไปสู่ “ภาวะต่อมหมวกไตล้า”
ทำความรู้จักต่อมหมวกไต
ต่อมหมวกไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด รวมถึงคอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dehydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด โดยต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมน
คอร์ติซอลออกมาเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย หากร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดบ่อย ๆ ก็จะทำให้ต่อมหมวกไตต้องหลั่งคอร์ติซอลออกมาสู้กับความเครียดอยู่ตลอดเวลา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ต่อมหมวกไตทำงานหนักมาเกินไปจนเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้
อาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า
เช็กลิสต์อาการภาวะต่อมหมวกไตล้า หากมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อ คุณอาจะกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น
- ไม่อยากตื่นเช้า
- ไม่มีแรง ไม่สดชื่น อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
- ตอนกลางคืนรู้สึกสดชื่น ตาสว่าง
- ง่วงแต่นอนไม่หลับ
- ถ้าได้ทานของหวานจะรู้สึกดีมีแรง
- ชอบทานอาหารรสเค็มกว่าปกติ
- เครียด ไม่ค่อยสนุกกับสิ่งรอบตัว
- อารมณ์แปรปรวนง่าย
- น้ำหนักขึ้นง่าย
หลัก ๆ แล้ว จะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจัดการความเครียด เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติเช่น
- การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ วันละอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- ทานอาหารเช้าก่อน 10.00 น. (พอหลัง 10.00 น. ไปแล้ว ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลง ทำให้ร่างกายยิ่งเกิดอาการเพลีย
- ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง แทนการทานอาหารเป็นมื้อหลัก ๆ ทีเดียว
- ออกกำลังกายระดับปานกลาง เพราะการออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตทำงานหนัก จนนำไปสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้า
- หาวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น เล่นโยคะ, หางานอดิเรกทำ, ไปท่องเที่ยว
- ทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรบางชนิดก็สามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ ไม่ว่าจะเป็น
L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว), วิตามินซี, วิตามินบี 3 , วิตามินบี 5, วิตามินบี 6
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา