รู้หรือไม่? นั่งไขว่ห้าง เสี่ยงทำร้ายสุขภาพ

บทความสุขภาพ

15 ก.ค. 2567
ครั้ง

รู้หรือไม่? นั่งไขว่ห้าง เสี่ยงทำร้ายสุขภาพ

      การนั่งไขว่ห้าง เป็นท่านั่งที่หลายคนชอบใช้ ไม่ว่าจะในห้องประชุม ห้องเรียน หรือที่บ้าน แม้จะดูสบายและเป็นธรรมชาติ แต่การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานกลับมีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด เพราะการนั่งไขว่ห้างจะมีการยกขามาไขว้ทับกัน ทำให้สะโพกข้างหนึ่งมีการยกตัวขึ้น อีกข้างกดต่ำลง ช่วงลำตัวจะมีการบิดเอี้ยวในขณะที่นั่งไขว่ห้าง ส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังมีความเอียง และบิด ซึ่งท่าทางเหล่านี้อาจเสี่ยงทำร้ายสุขภาพได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อ “นั่งไขว่ห้าง” เป็นเวลานาน
  • ต้นขาใหญ่ขึ้น : หลายคนที่ชอบนั่งไขว่ห้างนานๆ อาจรู้สึกว่า ต้นขาใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ทั้งๆ ที่ก็มีน้ำหนักตัวเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุมาจาก เส้นเลือดบริเวณต้นขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนเกิดเป็นไขมันสะสมที่บริเวณต้นขา และทำให้ขาใหญ่ขึ้นตามมา
  • ขาชา ปวดเมื่อยบริเวณขา : การนั่งไขว่ห้างนั้นก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ เพราะเมื่อเส้นประสาทและเส้นเลือดถูกกดทับ จะมีผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพื่อส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่ายกาย ซึ่งอาจทำให้เลือดสูบฉีดไปไม่ถึง จนส่งผลให้เกิดอาการชาที่บริเวนต้นขานั่นเอง
  • เกิดเส้นเลือดขอด : สาเหตุเกิดจากการยืนหรือนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานหลายชั่วโมง อย่างเช่นการนั่งไขว่ห้าง และเกิดจากการเกร็งตัวของเส้นเลือดตลอดเวลา จนทำให้กลายเป็นเส้นเลือดขอดได้ในที่สุด โดยสามารถพบในกลุ่มผู้หญิงวัย 40-50 ปี
  • ปวดหลัง : เนื่องจากการนั่งไขว่ห้าง เป็นท่านั่งที่ไม่สมดุล เพราะต้องถ่ายเทน้ำหนักไปที่ด้านใดด้านหนึ่งซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ และส่งผลกระทบต่อหลังโดยตรง ทำให้กระดูกสันหลังเกิดการผิดรูป คดงอ ไปจนถึงหมอนรองกระดูกเสื่อม
ปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไร ? ให้นั่งไขว่ห้างหรือไขว้ขาได้ปลอดภัยมากขึ้น
  • ใช้ท่ายืดขาแล้วไขว้กันแทนการนั่งไขว่ห้าง หรือไขว้ขา แบบยกขาข้างหนึ่งขึ้นมาทับหัวเข่าอีกข้างหนึ่ง เพราะเป็นท่าที่ไม่ได้ทำให้สะโพกเสียสมดุลมากเท่ากับการนั่งไขว่ห้างแบบยกขา
  • ไม่ว่าจะนั่งด้วยท่าไขว่ห้าง หรือไขว้ขาแบบไหน ก็ไม่ควรนั่งติดต่อกันด้วยท่านั้นนาน ๆ
  • ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง
  • หากจำเป็นต้องนั่งไขว่ห้าง หรือไขว้ขา จริง ๆ ควรสลับข้างทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อไม่ให้ขาข้างหนึ่งข้างใดถูกกดทับจนเสียสมดุลเป็นเวลานาน ๆ เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดการกดทับเส้นประสาทได้บ้าง แต่ก็ยังถือว่าไม่ใช่ท่านั่งที่ถูกต้องอยู่ดี
  • หมั่นยืดและสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscles) เช่น ทำกายบริหารในท่าแพลงก์ (Plank) ท่าซิทอัพต่าง ๆ (Sit Up) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อในส่วนที่ต้องทำงานหนักเมื่อนั่งอยู่ในท่าไขว่ห้าง ไขว้ขา ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อาการข้างเคียงต่าง ๆ จากการนั่งไขว่ห้างก็จะลดน้อยลง

      หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หรือพยายามนั่งไขว่ห้างแบบสลับขาบ่อยๆ และลุกออกไปเดินสูดอากาศข้างนอกบ้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนเป็นปกติ อีกทั้งการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา ยิ่งมีผลทำให้อาการเหล่านี้ทุเลาลงได้ การเปลี่ยนแปลงท่านั่งเพียงเล็กน้อยสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อย่างมาก มาเริ่มดูแลสุขภาพกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าในอนาคต

รู้หรือไม่นั่งไขว่ห้างเสี่ยงทำร้ายสุขภาพ.png

 

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png