รู้หรือไม่? เป็นวัยรุ่น...ก็ปวดเข่าได้

บทความสุขภาพ

22 ก.พ. 2566
ครั้ง
รู้หรือไม่? เป็นวัยรุ่น...ก็ปวดเข่าได้

      หลายคนคงเข้าใจว่า ‘ข้อเข่าเสื่อม’ มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากข้อเข่าเสื่อมเป็นกระบวนการเสื่อมที่เกิดขึ้นตามสภาวะความเสื่อมถอยของร่างกาย แต่ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มวัยรุ่น ถ้ามีการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป 

โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร

      โรคข้อเข่าเสื่อมคือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อมีการสึกหรอและเสื่อมลงตามอายุ เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกจึงมีการชนกันขณะรับน้ำหนัก จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด โดยจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หัวเข่าก็จะผิดรูป และไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

‘ปัจจัยเสี่ยง’ ที่เป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

  • อุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บที่เข่า : มักพบได้ในผู้ที่ชอบเล่นกีฬา หรือเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บ ยกตัวอย่างเช่น ข้อเคลื่อน เอ็นขาด หมอนรองกระดูกฉีกหรือแตก เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ : ครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น หรือบางรายมีกระดูกอ่อนที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติได้
  • ยกของหนักหรือใช้งานข้อเข่าเป็นระยะเวลานาน : การทำงานหรืออาชีพมีผลอย่างมากต่ออาการปวดข้อ การทำงานที่มีแรงกระเทือน การยืนนาน ๆ แบกของหนักบ่อยครั้ง การใช้แรงกดซ้ำ ๆ ที่เดิมบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน เป็นหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้
  • มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ : มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนมาก จะทำให้มีแรงกดที่ข้อมากขึ้น เป็นอื่นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย การรับน้ำหนักที่มากเกินไปส่งผลทำให้กระดูกอ่อนบางลงได้ การรับน้ำหนักที่มากกว่าปกติ จึงทำให้ข้อเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  • มีประวัติการติดเชื้อในข้อเข่า : ประวัติติดเชื้อในข้อเข่า เช่น โรคข้ออักเสบติดเชื้อ หรือโรคเกาต์

ลักษณะอาการสัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม

  • เริ่มมีอาการปวดหัวเข่า
  • เข่ามีเสียงกรอบแกรบ (crepitus)  
  • ข้อเข่าติด ฝืด ตึง แข็ง (stiffness)
  • เสียวหัวเข่า
  • บวม ร้อน กดเจ็บ
  • ข้อเข่าโก่งงอ ต้นขาลีบ ข้อเข่าผิดรูป

อาการปวดเข่าแบบไหนที่ควรรีบพบแพทย์ 

  • ปวดหัวเข่ารุนแรง แม้ไม่ได้เคลื่อนไหว
  • ปวดหัวเข่าและมีอาการบวมช้ำ
  • ปวดร้าวลงขา งอเข่าได้ไม่สุด

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 

  • การรักษาที่ไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy) : เป็นการปฏิบัติตัวหรือการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต เพื่อการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การบริหารข้อ การใช้ข้ออย่างถูกต้อง
  • กายภาพบำบัด เป็นการฟื้นฟูบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อเข่า เช่น การทำอัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์รักษา หรืออาจใช้ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าใช้นานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบได้
  • การใช้ยา  (pharmacological therapy) :  อาจจะเป็นแบบรับประทาน หรือแบบฉีดก็ได้ ในส่วนยากินบรรเทาอาการ ปัจจุบันมีการใช้ยาหลายกลุ่ม ได้แก่ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Steroid) ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ ซึ่งต้องดูแลและสั่งจ่ายโดยแพทย์
  • การรักษาโดยการผ่าตัด ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากได้ผลดี และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก 

      ปัจจุบันมีแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลหลากหลายวิธี ดังนั้นใครที่เริ่มมีความผิดปกติที่ข้อเข่าควรให้ความสำคัญ และเริ่มดูแลรักษาอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ในกรณีที่เริ่มมีอาการเจ็บปวดใช้ชีวิตลำบาก แนะนำควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมวางแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยลดความรุนแรง การลุกลาม และลดความเจ็บปวดทรมานให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ 

9.22022023 รู้หรือไม่_ เป็นวัยรุ่น...ก็ปวดเข่าได้.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png