ระวัง! โรคมือเท้าปาก ระบาดในฤดูฝน
บทความสุขภาพ
15 ก.ย. 2565
ครั้ง
ระวัง! โรคมือเท้าปาก ระบาดในฤดูฝน



ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

- โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease)
เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน และสามารถพบโรคมือ เท้า ปากในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่อาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

- อาการ ของโรคมือ เท้า ปาก
โรคมือ เท้า ปาก จะมีระยะฟักตัว 2-3 วัน โดยอาการเริ่มต้นเด็กจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส เป็นอาการนำก่อน จากนั้นจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน คือ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย และจะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน โดยหากอาการดีขึ้นจะสามารถหายจากโรคนี้ไปใน 1 สัปดาห์

- ระยะแพร่เชื้อและการติดต่อ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการใน 7 วันแรก และหลังจากหายแล้ว พบว่ายังสามารถพบเชื้อได้ในอุจจาระได้อีก (ระยะประมาณ 2-3 สัปดาห์) โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก ผื่นตุ่มน้ำใส และอุจจาระของผู้ป่วย เชื้ออาจจะแพร่กระจายโดยผ่านทางมือผู้ที่สัมผัสกัน และสามารถติดต่อทางอ้อมจากการสัมผัสของเล่น อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |