เคล็ดลับดูแล “สุขภาพหัวใจ” ให้แข็งแรง
บทความสุขภาพ
เคล็ดลับดูแล “สุขภาพหัวใจ” ให้แข็งแรง
หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายและเป็นอวัยวะที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เต้นและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายของเรา แม้กระทั่งตอนหลับ หรือขณะที่อวัยวะอื่นพักผ่อน กล้ามเนื้อหัวใจก็ยังทำงาน จึงต้องทะนุถนอมหัวใจให้แข็งแรง
- โรคหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
- ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ)
- ภาวะบกพร่องของหัวใจแต่กำเนิด
- โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
- โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ
- การติดเชื้อที่หัวใจ
- โรคของผนังหุ้มหัวใจ
โรคหัวใจมีอาการ อย่างไร ? อาการของโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ- เจ็บแน่นหน้าอก มักมีอาการแน่น อึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก อาจมีอาการปวดร้าวไปกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย มักเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังและหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการเมื่ออยู่เฉย ๆ
- เหนื่อยง่ายหายใจถี่
- นอนราบไม่ได้
- บวม
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- หน้ามืดหมดสติ
อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart Arrhythmias)
หัวใจของคุณอาจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือไม่สม่ำเสมอ อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจรวมถึง
- หัวใจเต้นสะดุด หรือเต้นเร็ว ๆ รัวๆ (Heart Palpitations)
- เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกไม่สบาย (Chest pain or discomfort)
- หายใจถี่ (Shortness of breath) หอบง่าย (Dyspnea on exertion)
- มึนศีรษะ (Lightheadedness)
- วิงเวียนศีรษะ (Dizziness)
- เป็นลมหมดสติ (Syncope)
ความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิด มักจะสังเกตเห็นได้หลังคลอดไม่นาน โดยมักมีสัญญาณและอาการผิดปกติของหัวใจในเด็กอาจรวมถึง
- สีผิวซีดเทา เขียว
- อาการบวมที่ขา หน้าท้อง หรือบริเวณรอบดวงตา
- ในทารกมักมีอาการหายใจถี่ระหว่างการให้น้ำนม ทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น
- นิ้วปุ้ม (Clubbing of fingers)
อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
ในระยะแรกของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ อาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น สามารถสังเกตได้จาก
- หายใจไม่ออกขณะทำกิจกรรมหรือพักผ่อน
- อาการบวมที่ขา ข้อ และเท้า
- อาการเหนื่อยล้า เหนื่อยง่าย หายใจถี่
- นอนราบไม่ได้
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ
- เวียนศีรษะ มึนงง และเป็นลม
อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากการติดเชื้อ (Heart Infection)
เยื่อบุหัวใจอักเสบ คือการติดเชื้อที่มีผลต่อเยื่อบุด้านในของห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ (Endocardium) สัญญาณและอาการของการติดเชื้อที่หัวใจอาจรวมถึง
- มีไข้หายใจถี่
- อ่อนแอ เหนื่อยล้า
- มีอาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ
- อาการไอแห้ง
- มีผื่นขึ้นหรือมีจุดที่ผิวหนัง เล็บ ขึ้นผิดปกติ
อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว (Valvular Heart Disease)
ลิ้นหัวใจทำหน้าที่เปิดและปิดเพื่อให้เลือดไหลผ่านหัวใจในทิศทางเดียว ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำลายลิ้นหัวใจได้ โดยอาการแสดงของโรคลิ้นหัวใจตีบและรั่วอาจรวมถึง
- อาการเหนื่อยล้า
- หายใจถี่ เหนื่อยง่าย
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ
- เท้าหรือข้อเท้าบวม เจ็บหน้าอก
- เป็นลมหมดสติ
เคล็ดลับดูแล “สุขภาพหัวใจ” ให้แข็งแรง
- การรับประทานอาหาร : เน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจและร่างกาย ลดอาหารไขมันสูง รสจัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันที่อิ่มตัวเช่น จากไขมันปาล์ม พร้อมกับรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนไขมันต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม่ติดมันหรือเนื้อปลา
- ลดการสูบบุหรี่ : หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนักและโรคประจำตัว : ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการที่น้ำหนักตัวเกินอาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
- ผ่อนคลายความเครียด : ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างชัดเจน เช่น อาจทำให้ความดันโลหิตสูงระดับฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆ เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำงานได้ดี
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา