ไขข้อสงสัย ประกันสังคม VS กองทุนทดแทน ต่างกันอย่างไร?
ข่าวสารประกันสังคม
ไขข้อสงสัย ประกันสังคม VS กองทุนทดแทน ต่างกันอย่างไร?
วันนี้เราจะมาให้ความรู้กับผู้ใช้บริการทุกท่านในเรื่องของกองทุนทดแทนและกองทุนประกันสังคม ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะรู้จักและคุ้นเคยกับกองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว วันนี้เราจึงมีความแตกต่างเพื่อให้ทุกคนได้ไขข้อสงสัยกัน
ประกันสังคม เป็นกองทุนที่ลูกจ้าง นายจ้างและรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินสมทบ โดยกองทุนประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนใน 6 กรณี อันไม่เกิดจากการทำงาน ได้แก่
- เจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิต
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเป็นรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งแต่ละร้านหรือบริษัทจะจ่ายเงินสมทบไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งกองทุนเงินทดแทนจะใช้ในกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น ใน 4 กรณี ได้แก่
- ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 2 ล้านบาท
- ค่าทดแทนรายเดือน (70% ของค่าจ้างรายเดือน) เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จนเป็นเหตุให้มีการหยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย
- ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู
- ค่าทำศพ (จ่ายตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง)
ความแตกต่าง ระหว่างกองทุนเงินทดแทนกับกองทุนประกันสังคม
โดยจะอยู่ที่สาเหตุของการเกิดสิทธิซึ่งกองทุนเงินทดแทนจะดูแลลูกจ้างที่เจ็บป่วย
เนื่องจากการทำงานให้นายจ้างส่วนกองทุนประกันสังคมจะดูแลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน
กองทุนประกันสังคมเมื่อเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้ โดยไม่มีการกำหนด
ค่ารักษาพยาบาล ส่วนกองทุนเงินทดแทนสามารถรักษาจากสถานพยาบาลใดก็ได้ แต่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน หากไม่ได้เป็นโรงพยาบาลที่กองทุนเงินทดแทนทำความตกลงไว้ และมีการกำหนดเพดานค่ารักษาพยาบาล
ย้ายสิทธิประกันสังคมได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 31 มีนาคม 2566
เลือกโรงพยาบาลประกันสังคม เลือกโรงพยาบาลพิษณุโลก ฮอสพิทอล
หากย้ายสถานพยาบาลแล้ว กดรับสิทธิได้ที่ https://bit.ly/PHsso66
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา